ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา เชื่อวัน, เชื่อง, ทานต์

เชื่อฟัง

หมายถึงก. ทำตามหรือประพฤติตามคำสั่งหรือคำสอน.

ไม่ฟังเสียง

หมายถึงก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.

ว่าง่าย,ว่านอนสอนง่าย

หมายถึงก. อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี.

ว่ายาก

หมายถึงว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน, ว่ายากสอนยาก ก็ว่า.

ดื้อ

หมายถึงว. ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม. ก. ทื่อ, ไม่คม, (ใช้แก่มีด).

อ่อนหู

หมายถึง(กลอน) ก. ยอมเชื่อฟัง เช่น แต่คิดแค้นแม่ยายกับพ่อตาจะทรมาเสียก่อนให้อ่อนหู. (สังข์ทอง).

วศค

หมายถึง[วะสก] (แบบ) น. ผู้อยู่ในอำนาจ, ผู้อยู่ในบังคับ, ผู้เชื่อฟัง. (ส.; ป. วสค).

ว่ากล่าว

หมายถึงก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.

หัวดื้อ

หมายถึงว. ว่ายากสอนยาก เช่น เด็กคนนี้หัวดื้อจริง, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตามใครง่าย ๆ เช่น ผู้ใหญ่บางคนก็หัวดื้อ.

เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

หัวแข็ง

หมายถึงว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ