ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อธิป,อธิป-, นราธิป, อธิก,อธิก-, อธึก, นราธิเบศร์, นราธิเบนทร์, อธิ, กรุณาธิคุณ, อาเทศ
อธิ
หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
อธิบดี
หมายถึง[อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตำแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
อธิวาสนะ
หมายถึง[-วาสะนะ] น. ความอดกลั้น, ความอดทน. (ป.).
อธิกรณ์
หมายถึงน. เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว. (ป., ส.).
อธิกวาร
หมายถึง[-วาน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นเดือน ๗ เป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน. (ป.).
อธิการบดี
หมายถึง[อะทิกานบอดี] น. ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย.
อธิฏฐาน
หมายถึง[อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺาน).
อธิมุตติ
หมายถึง[อะทิมุดติ] น. อัชฌาสัย, ความพอใจ, ความตั้งใจ. (ป.; ส. อธิมุกฺติ).
อธิวาส
หมายถึงน. ที่อยู่, บ้าน. (ป., ส.).
อธิก,อธิก-
หมายถึง[อะทิกะ-, อะทิกกะ-] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).
อธิกมาส
หมายถึง[-มาด] น. เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี ๑๓ เดือน มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ สอง ๘. (ป.).
อธิโมกข์
หมายถึงน. ความตัดสินเด็ดขาด, ความเด็ดเดี่ยว; ความน้อมใจเชื่อ. (ป.; ส. อธิโมกฺษ).