ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เหียนหัน, หัวเทียน, บังเหียน, เผียน, หกเหียน
เหียน
หมายถึงก. หัน เช่น เหียนใบเรือ.
การใช้ ร หัน(รร)
คำไทยโบราณที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เหียนหัน
หมายถึงก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, หันเหียน ก็ว่า.
หันเหียน
หมายถึงก. เปลี่ยนท่าทาง, พลิกแพลง, เช่น รำร่ายหันเหียนเวียนละวัน หมายมั่นเข่นฆ่าราวี. (อิเหนา), เหียนหัน ก็ว่า.
เหียน,เหียน,เหียน ๆ
หมายถึงก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
หกเหียน
หมายถึงน. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่า ไม้หกเหียน.
หัน
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.
หมายถึงก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้ากับศัตรู.
หันหลัง
หมายถึง(สำ) ก. เลิก เช่น หันหลังให้อบายมุข.
หันหลังให้กัน
หมายถึง(สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
ไม้หกเหียน
หมายถึงน. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา.
ก หัน
หมายถึงน. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
หันกลับ
หมายถึงก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.