ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หิน, ผัน, ผิน, หิน,หิน,หิน-, ส่ง, ยัน, หัช, ไม้หึ่ง, หัส,หัส-, บัน, คัน, หาร
หัน
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.
การใช้ ร หัน(รร)
คำไทยโบราณที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
หมายถึงก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้ากับศัตรู.
หันหลัง
หมายถึง(สำ) ก. เลิก เช่น หันหลังให้อบายมุข.
หันหลังให้กัน
หมายถึง(สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
บ่าย
หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ผัน
หมายถึงก. หัน เช่น ผันหน้า, ผิน หรือ หิน ก็ว่า; ทำให้เปลี่ยนไปจากแนวหรือลักษณะเดิม เช่น ผันน้ำเข้านา.
หิน
หมายถึงก. หัน, ผัน หรือ ผิน ก็ว่า.
หื่นหรรษ์
หมายถึง[-หัน] (กลอน) ก. เหิมใจ, ยินดี, ร่าเริง, ชื่นชม.
ก หัน
หมายถึงน. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
ร
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
เหียน
หมายถึงก. หัน เช่น เหียนใบเรือ.
ผิน
หมายถึงก. หัน, ผัน หรือ หิน ก็ว่า; แปรพระพักตร์ (ใช้แก่พระพุทธรูป).