ตัวกรองผลการค้นหา
ห
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นำอักษรตํ่าที่เป็นอักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
หมวด อาหาร
ปโย,ปโย-
หมายถึงน. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มีพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวหารร่วมมาก
หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
เศษวรรค
หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.
อาศิร-,อาศิร- ,อาศิร-,อาเศียร,อาเศียร-
หมายถึง[อาสิระ-, -เสียนระ-] น. การอวยพร. (ส. อาศิสฺ คำนี้เมื่อนำหน้าอักษรตํ่าและตัว ห ต้องเปลี่ยน ส เป็น ร เป็น อาศิร และแผลงเป็น อาเศียร ก็มี; ป. อาสิ ว่า ความหวังดี).
กัณฐชะ
หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).
อายุ
หมายถึงน. เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมาจนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กำหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนำหน้าบางคำ, แต่เมื่อนำหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
อักษรสูง
หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
โฆษะ
หมายถึงว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).