ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สาร,สาร-,สาร-, สระ, สารคดี, สารบรรณ, สารธรรม, อรรถบท, สารบาญ, สารบัญ, สารประโยชน์
สารบัญ
หมายถึง[สาระ-] น. บัญชีเรื่อง, รายชื่อเรื่อง. (ตัดจาก สารบัญชี และ สารบาญชี).
เกร็ดความรู้จากละครข้ามสีทันดร
การใช้สระในภาษาไทย
พิธีราชาภิเษก
สารประโยชน์
หมายถึง[สาระ-] น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร เช่น สารประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน, สารัตถประโยชน์ ก็ว่า.
สารบบ,สารบับ
หมายถึง[สาระ-] น. คำบอกเรื่อง, บัญชีเรื่อง, เช่น เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในสารบบ.
สารบาญชี
หมายถึง[สาระ-] น. การจัดวิธีเกณฑ์คนเข้ารับราชการฝ่ายทหารและพลเรือนในสมัยโบราณตั้งเป็นกรม เรียกว่า กรมพระสุรัสวดี คือ สัสดี เดี๋ยวนี้.
สาร,สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
สารธรรม
หมายถึง[สาระ-] น. ธรรมเป็นหลักฐาน, ธรรมที่มั่นคง.
อรรถบท
หมายถึง[อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.
สารบาญ
สาระ
หมายถึงน. ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น เขียนมายืดยาวแต่มีสาระน้อย ทำดีย่อมได้ดีเป็นสาระสำคัญของเรื่องนี้; ประโยชน์ เช่น เรื่องไม่เป็นสาระ ไร้สาระ.
ศารทูล
หมายถึง[สาระ-] น. เสือโคร่ง. (ส. ศารฺทูล; ป. สทฺทูล).
สังสารวัฏ
หมายถึง[-สาระ-] น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. (ป. สํสารวฏฺฏ).
สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).