ค้นเจอ 17 รายการ

สังเวช,สังเวช-

หมายถึง[สังเวด, สังเวชะ-] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).

สังเวชนียสถาน

หมายถึง[สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.

ปลงอนิจจัง

หมายถึงก. รู้สึกสังเวชใจว่าไม่น่าจะเป็นถึงเช่นนั้น.

หมดรูป

หมายถึงว. อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช, หมดท่า ก็ว่า.

อำนาถ

หมายถึง[-หฺนาด] ว. น่าสงสาร, น่าสังเวช, น่าสลดใจ. (แผลงมาจาก อนาถ).

อนิจจัง,อนิจจัง,อนิจจา

หมายถึง[อะนิด-] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.

อนาถ

หมายถึง[อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).

ธรรมสังเวช

หมายถึงน. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).

ปลงธรรมสังเวช

หมายถึง[ปฺลงทำมะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).

เวทนา

หมายถึง[เวดทะ-] ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย เด็กคนนี้น่าเวทนา.

หมดท่า

หมายถึงว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดินหกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.

สมเพช

หมายถึง[-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ