ค้นเจอ 20 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ไตรสิกขา, เบญจพล, สิกขา

สมาธิ

หมายถึง[สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).

ไตรสิกขา

หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.

เบญจพล

หมายถึงน. กำลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.

สิกขา

หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).

เล็งญาณ

หมายถึงก. พิจารณาเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่เกิดจากสมาธิ.

สัมมาสมาธิ

หมายถึงน. สมาธิชอบ, ความตั้งใจชอบ. (ป.).

มิจฉาสมาธิ

หมายถึงน. สมาธิผิด, ความตั้งใจผิด. (ป.).

สำรวมใจ

หมายถึงก. ทำใจให้แน่วแน่, ทำใจให้สงบ, เช่น เวลานั่งสมาธิต้องสำรวมใจ.

กังฟู

หมายถึงน. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไปในทางฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.

วิปัสสนายานิก

หมายถึงน. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.

ภาวนา

หมายถึง[พาวะ-] น. การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่งภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).

โยคะ

หมายถึงน. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดยการทำจิตให้เป็นสมาธิ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ