ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สุมหัว, สุมกระหม่อม
ยาสุมหัว
หมายถึงน. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมเด็กแก้หวัด.
หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)
สุมหัว
หมายถึงก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมกระหม่อม ก็ว่า; มั่วสุม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น สุมหัวนินทาเจ้านาย.
ยา
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
ยามา
หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
พระโอสถประจุ, พระโอสถปัด
หมายถึงยาถ่าย, ยาระบาย
สุมกระหม่อม
หมายถึงก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมหัว ก็ว่า.
ยาปน,ยาปน-
หมายถึง[-ปะนะ-] น. การยังชีวิตให้เป็นไป. (ป., ส. ยาปน ว่า การยัง...ให้เป็นไป).
เสวยพระโอสถ
หมายถึงกินยา
พระโอสถประจุ
หมายถึงยาถ่าย
ยาขัด
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น.
ยาซัด
หมายถึงน. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
ยาประสะ
หมายถึงน. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.