ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ภารตวิทยา, สูติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
หมายถึง[พูมิ-] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.
ภารตวิทยา
หมายถึงน. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
ภูมิศาสตร์ประวัติ
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
ภูมิศาสตร์ประชากร
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
หมายถึงน. หนังสือสำหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์เรียงลำดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
สังคมศึกษา
หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.
ภูมิศาสตร์การเมือง
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองของรัฐต่าง ๆ ในโลก.
ภูมิศาสตร์การเกษตร
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.
ภูมิศาสตร์กายภาพ
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.
ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติการผลิต การใช้.
เมริเดียน
หมายถึง(ภูมิ) น. ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลกซึ่งเรียกว่า เหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น.
ภาค,ภาค-
หมายถึง[พาก, พากคะ-] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).