ค้นเจอ 52 รายการ

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

ปัจจัย

หมายถึงเงิน

ส่วนประกอบ

หมายถึงน. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทำให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.

ภาษามีวิภัตติปัจจัย

หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).

ยุทธปัจจัย

หมายถึงน. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.

สังขารธรรม

หมายถึง[สังขาระ-] น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง.

อัญมัญ,อัญมัญ-

หมายถึง[อันยะมันยะ-] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อญฺมญฺ).

เชิงซ้อน

หมายถึงว. ซับซ้อน, ซ้อนกัน, เช่น ภาพเชิงซ้อน, มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น จำนวนเชิงซ้อน.

ปัตยัย

หมายถึง[ปัดตะไย] (กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).

สังขตธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).

โครงสร้าง

หมายถึงน. ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างเดียวกัน.

ปรัตยัย

หมายถึง[ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ