ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา หากิน, ตำตา, ตำหูตำตา

ทำตา

หมายถึงก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทำตาเล็กตาน้อย ทำตาขุ่นตาเขียว.

ยิบหยี

หมายถึงว. ทำตาหยีพร้อมกับทำตายิบ ๆ ด้วย เช่น ทำตายิบหยี.

หรี่ตา

หมายถึงก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติสัญญาณบางอย่าง.

ปรอย,ปรอย ๆ,ปรอย ๆ

หมายถึง[ปฺรอย] ว. ที่แสดงอาการเศร้า (ใช้แก่ตา) เช่น ทำตาปรอย.

อาจารี

หมายถึงน. ผู้มีจรรยา, ผู้ทำตามคติแบบแผน. (ส. อาจารินฺ).

กะปริบ

หมายถึง[-ปฺริบ] ก. กะพริบ, มักใช้ซํ้าคำว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทำตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.

ยิบ ๆ

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละอองเป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็นประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่

หมายถึง(สำ) ก. ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.

ให้หน้า

หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.

ทำ

หมายถึงก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ