ค้นเจอ 445 รายการ

ทรงปราศรัย

หมายถึงปราศรัย

ปราศรัย

หมายถึง[ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คำปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).

พระราชปฏิสันถาร

หมายถึงทักทายปราศรัย

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

ปราสัย

หมายถึง[ปฺราไส] ก. ปราศรัย.

ทรงชำนาญ,ทรงเชี่ยวชาญ

หมายถึงชำนาญ

ทรงบาตร

หมายถึงใส่บาตร

เครื่องทรง

หมายถึงเครื่องแต่งตัว, เครื่องแต่งกาย

ทรงงาน

หมายถึงทำงาน

ทรงธรรม

หมายถึงฟังธรรม

ทรงฟัง

หมายถึงฟัง

ทรงม้า

หมายถึงขี่ม้า

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ