ค้นเจอ 9 รายการ

ทนาย

หมายถึง[ทะ-] น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอำนาจ); คำเรียกทนายความอย่างสั้น ๆ.

หมอความ

หมายถึง(ปาก) น. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี, ทนาย หรือ ทนายความ ก็เรียก.

ทนายความ

หมายถึงน. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.

หมายถึง[ทะ] ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.

ทนายแผ่นดิน

หมายถึง(กฎ) ดู อัยการ.

บรรดาศักดิ์

หมายถึง[บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.

พนักงานอัยการ

หมายถึง(กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.

แต่ง

หมายถึงก. จัดให้งาม เช่น แต่งร้าน แต่งบ้าน, ทำให้ดี เช่น แต่งต้นไม้ แต่งผม; จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต; จัดแจง เช่น แต่งเครื่องราชบรรณาการ แต่งทัพ; เรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เช่น แต่งหนังสือ แต่งโคลงกลอน, คิดทำขึ้นเอง เช่น แต่งเรื่อง; ครอง เช่น แต่งเมือง ว่า ครองเมือง.

อัยการ

หมายถึง[ไอยะ-] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ