ค้นเจอ 43 รายการ

ฉัตร,ฉัตร,ฉัตร-

หมายถึง[ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.

ฉัตร

หมายถึง[ฉัด] น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง.

หลังฉัตร

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.

พิธีมณฑล

หมายถึงน. บริเวณที่กำหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกำหนดขอบเขตขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง.

ชั้น

หมายถึงน. ที่สำหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลำดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.

พระอภิรุม

หมายถึงเครื่องประดับเกียรติยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร บังสูรย์

เครื่องสูง

หมายถึงน. ของสำหรับแสดงอิสริยยศหรือยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร กลด.

กกุธภัณฑ์

หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).

กรรภิรมย์

หมายถึง[กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสำรับหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนำช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.

เกิ้ง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. กั้น, บัง, มุง, เช่น เอาผ้าเกิ้งแดด เกิ้งหลังคา. น. ฉัตร.

ใบฉัตร

หมายถึงน. ส่วนที่งอเป็นขอบโดยรอบตัวฆ้อง.

ชานฉัตร

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ