ค้นเจอ 146 รายการ

คันทวย

หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, ทวย ก็เรียก.

ทวย

หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.

พระทวย

หมายถึงคันทวยสำหรับรองรับกระโถน หรือรับพระภูษาโยง

ทวย

หมายถึงน. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.

คัน

หมายถึงน. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสำหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาวทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.

คัน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Amesiodendron chinense (Merr.) Hu ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามชายนํ้า สูงประมาณ ๑๐ เมตร, ขัน ก็เรียก.

คัน

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทำหรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่าอยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า.

คันถ,คันถ-

หมายถึง[คันถะ-] น. คัมภีร์. (ป.; ส. คฺรนฺถ).

คันไถ

หมายถึงน. เครื่องมือทำไร่ทำนาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้น ลากไปเพื่อกลับดิน, ไถ ก็ว่า.

ขัน

หมายถึงดู คัน ๓.

ทำนวย

หมายถึงน. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทำนวยน้อม. (สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).

ยุคันต,ยุคันต-,ยุคันต์

หมายถึงน. ที่สุดแห่งยุค. (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ