ค้นเจอ 56 รายการ

สวมหัวโขน

หมายถึงก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ.

หอยโข่ง

หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง.

ออกยักษ์ออกโขน

หมายถึงก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.

อักโข

หมายถึงว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).

โองโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.

ข้าวหัวโขน

หมายถึงน. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.

โขกสับ

หมายถึงก. ด่าว่าข่มขี่.

โขน

หมายถึงน. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.

โขมด

หมายถึง[ขะโหฺมด] น. กระหมวด; จอมประสาทหัวช้าง.

โขลน

หมายถึง[โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตำรวจ; ตำแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).

โขลนทวาร

หมายถึง[โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทำตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).

โขษม

หมายถึง[ขะโสม] น. ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน. (ป. โขม; ส. เกฺษาม). (แผลงมาจาก โขม).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ