ค้นเจอ 17 รายการ

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึงน. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.

วันออกพรรษา

หมายถึงน. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.

ลาพรรษา

หมายถึง(ปาก) ก. ออกพรรษา.

หูเข้าพรรษา

หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.

ปุริมพรรษา

หมายถึงดู บุริมพรรษา

พรรษา

หมายถึง[พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).

พระชนมพรรษา

หมายถึงอายุ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และใช้คำว่า 'พรรษา' แทนคำว่า 'ปี'

เทียนพรรษา

หมายถึงน. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.

บุริมพรรษา

หมายถึง[บุริมมะพันสา, บุริมพันสา] น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา. (ป. ปุริม + ส. วรฺษ).

วันเข้าพรรษา

หมายถึงน. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘.

เฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึง[ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.

ปัจฉิมพรรษา

หมายถึง[ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา] น. “พรรษาหลัง”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม + ส. วรฺษ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ