ค้นเจอ 110 รายการ

ทรงธรรม, ทรงสดับพระธรรมเทศนา (พระเจ้าแผ่นดิน)

หมายถึงฟังเทศน์

เอกเทศ

หมายถึง[เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.

ทองทศ

หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.

เทศก

หมายถึง[เท-สก] น. ผู้ชี้แจง, ผู้แสดง, ผู้แสดงธรรม. (ส.).

เทศนาโวหาร

หมายถึงน. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.

เทศบัญญัติ

หมายถึง(กฎ) น. บทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้นเพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น.

เทศมนตรี

หมายถึง(กฎ) น. ตำแหน่งผู้บริหารงานเทศบาล ซึ่งเป็นส่วนประกอบของคณะเทศมนตรี.

เทศาจาร

หมายถึงน. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).

เนรเทศ

หมายถึง[-ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึงการออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).

ประเทศ

หมายถึงน. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.

ปัจจันตประเทศ

หมายถึงน. ประเทศปลายเขตแดน, ในวินัยหมายถึงที่อยู่นอกออกไปจากมัชฌิมประเทศ. (ป.).

ภูมิประเทศ

หมายถึง[พูมิ-] น. ลักษณะทางกายภาพและทางธรรมชาติของแผ่นดิน รวมถึงความสูงตํ่าของผิวโลก ทะเลสาบ ถนนหนทาง และเมืองต่าง ๆ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ