ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มินตรา, ตรา, ลัญฉน์,ลัญฉะ, เสมียนตรา, มุททา, หันตรา, กฎ, ตราชู, ลัญจกร,ลัญฉกร
ศาสตรา
หมายถึง[สาดตฺรา] น. ดู ศัสตรา
สาตรา
หมายถึง[สาดตฺรา] (โบ) น. ของมีคม. (ส. ศสฺตฺร; ป. สตฺถ).
เภตรา
หมายถึง[เพตฺรา] น. เรือ, เรือสำเภา. (เทียบ ส. วาหิตฺร, เภฏ ว่า เรือ).
มินตรา
หมายถึง[-ตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).
ตรวจตรา
หมายถึงก. พิจารณาดูให้รอบคอบถี่ถ้วน.
ตรา
หมายถึง[ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทำเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว, สำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สำหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราไว้; กำหนดไว้, จดจำไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
ท้องตรา
หมายถึงน. หนังสือคำสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิมเรียกว่า สารตรา.
ทุนสำรองเงินตรา
หมายถึง(กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
ประจำครั่ง,ประจำตรา
หมายถึงก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสำคัญ.
รอยตรา
หมายถึงน. รอยประทับของดวงตรา.
อนุมาตรา
หมายถึง[-มาดตฺรา] น. ข้อย่อยของมาตราในกฎหมายที่มีเลขกำกับอยู่ในวงเล็บ.
อุตรา
หมายถึง[อุดตฺรา] น. เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา.