ค้นเจอ 7 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ชะมด, นาภี, ชระมด, เห็นอ้ม

กวางชะมด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดน้ำมัน.

ชะมดเชียง

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ).

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง.

จันทน์ชะมด

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Aglaia silreotris (M. Roem.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชื้นบางแห่ง เนื้อไม้หอม. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์ Sterculiaceae ขึ้นตามป่าชื้นบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม ก็เรียก.

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอน หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.

ชะมดต้น

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Abelmoschus moschatus Medic. subsp. moschatus ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสีนํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทำยาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ