ค้นเจอ 16 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ชคดี, คดี, สำนวน, เรื่อง, อธิกรณ์, กรณี

สารคดี

หมายถึง[สาระ-] น. เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ.

คดี

หมายถึง[คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).

มูลคดี

หมายถึง(กฎ) น. เหตุแห่งคดี; เหตุที่ทำให้คดีเกิดขึ้น.

ชคดี

หมายถึง[ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).

ชำระคดี

หมายถึง(กฎ) ก. พิจารณาตัดสินคดี.

บันเทิงคดี

หมายถึงน. เรื่องที่เขียนหรือแต่งขึ้นโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน.

โบราณคดี

หมายถึง[โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.

หมายบังคับคดี

หมายถึง(กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.

อรรถคดี

หมายถึง[อัดถะคะดี] (กฎ) น. เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.

วรรณคดี

หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.

เสียรูปคดี

หมายถึง(ปาก) ก. เป็นผลให้คดีเปลี่ยนไปในทางที่เสียเปรียบ.

ปิดคดี

หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์และจำเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคำพิพากษา.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ