ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หายหน้า, อับอาย, ไหมหน้า, โฉมหน้า, หายตัว, หายหัว, เสียแต้ม, ภายหน้า, ตราหน้า
โรยหน้า
หมายถึงก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่งแต่เพียงผิว ๆ.
ไข่แมงดา
หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้โรยหน้าข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด.
สลัดผลไม้
หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้โรยหน้าไอศกรีม.
ลืมกลืน
หมายถึงน. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้งถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่างหน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
เรไร
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้า เส้นเล็ก ๆ คล้ายซ่าหริ่ม จับให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ คล้ายรังนก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย งา หยอดด้วยกะทิ.
ศิลาอ่อน
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนวดปนกับแป้งถั่วเขียวเล็กน้อย ผสมน้ำเชื่อมกวนในกะทิข้น ๆ ให้สุกจนเหนียว ตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยถั่วลิสงคั่วซอยเป็นต้น.
เปาะเปี๊ยะ
หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนำแป้งสาลีมาทำให้สุกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
หน้า
หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.