ค้นเจอ 1,714 รายการ

หยิบ

หมายถึงก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.

หยิบไปแต่พอดี

หมายถึงเอาของบริจาคจากตู้ปันสุขไปในปริมาณที่เหมาะสม เผื่อไว้ให้คนอื่นที่ยังเดือดร้อนด้วย ไม่ใช่แย่งหยิบเอาไปกันจนหมด

หยิบมือเดียว

หมายถึง(สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไปรบกับใครเขาได้.

หยิบโหย่ง

หมายถึงว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.

สามหยิบ

หมายถึงน. เรียกหมวกลูกเสือที่มีรอยบุ๋ม ๓ รอยตรงด้านบนหมวกว่า หมวกสามหยิบ.

ยกหยิบ

หมายถึง(กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).

หยิบมือ

หมายถึงน. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบ ก็เรียก.

ฉวย

หมายถึงก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.

เอา

หมายถึงก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นำ, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทำเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คำใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคำได้. ว. เมื่อใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทำต่อเนื่องกัน เช่น กินเอา ๆ.

นำ

หมายถึงก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.

ว่าเอาเอง

หมายถึงก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.

ไม่เอาความ

หมายถึงก. ไม่ฟ้องร้องเอาความผิดตามกฎหมาย.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ