ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เคียม, เสี่ยม, ผงอน, เอี่ยม, เสียด, เสี้ยน, เสี้ยว, เหี้ยม, ด้วมเดี้ยม, บาทภาค
เสี้ยม
หมายถึงก. ทำให้แหลม เช่น เสี้ยมไม้; โดยปริยายหมายความว่า ยุแหย่ให้เขาแตกกันหรือทะเลาะกัน. ว. มีลักษณะค่อนข้างแหลม ในคำว่า หน้าเสี้ยม คางเสี้ยม.
เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน
หมายถึง(สำ) ก. ยุยงให้โกรธ เกลียด หรือวิวาทกัน.
หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม
หมายถึง(สำ) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
ขว้างกา
หมายถึงน. เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่เสี้ยมหัวท้ายให้แหลมใช้เป็นอาวุธ.
เขากวาง
หมายถึงน. ชื่อขวากชนิดหนึ่งทำด้วยต้นไม้หรือกิ่งไม้ เสี้ยมปลายให้แหลมเพื่อกีดขวางข้าศึก.
กำพราก
หมายถึง[-พฺราก] น. ไม้รวกหรือไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายให้แหลม ใช้สำหรับขุด เรียกว่า ไม้กำพราก.
เสาเข็ม
หมายถึงน. ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น สำหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เข็ม ก็ว่า. (ดู เข็ม ๑).
หลาว
หมายถึงน. ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสำหรับแทง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลาวทองเหลือง. ว. เรียกอาการที่พุ่งตัวพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้าว่า พุ่งหลาว.
งาแซง
หมายถึงน. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปักตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับตั้งกีดขวางทางเข้าประตูค่ายเป็นต้น.
แหลม
หมายถึง[แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญาแหลม; ชำนาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงเป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดินหรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
กระจับ
หมายถึงน. เครื่องสวมข้อตีนม้าสำหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้างเสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
เข็ม
หมายถึงน. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่างคล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้นสำหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสำหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดยปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.