ค้นเจอ 11 รายการ

เจ็ด

หมายถึงน. จำนวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราวเดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).

สัปต,สัปต-

หมายถึง[สับตะ-] ว. เจ็ด. (ส.).

สัต,สัต,สัต-,สัต-,สัตตะ,สัตตะ

หมายถึง[สัด, สัดตะ-] ว. เจ็ด. (ป. สตฺต; ส. สปฺต).

สัปด,สัปด-

หมายถึง[สับดะ-] ว. เจ็ด. (ส. สปฺต; ป. สตฺต).

สัตตาห,สัตตาห-

หมายถึงน. เจ็ดวัน.

ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร,ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ,ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง

หมายถึง(ปาก) ว. ทั่วทุกแห่งหน.

สัตสดก

หมายถึง[-สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหาทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).

ปริตร

หมายถึง[ปะหฺริด] น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ในเจ็ดตำนานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตำนานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตำนานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง. ว. น้อย. (ส.; ป. ปริตฺต).

แปด

หมายถึงน. จำนวนเจ็ดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่าเดือน ๘ ตกในราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม, ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ แรก และ ๘ หลัง.

ตำนาน

หมายถึงน. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.

เอก,เอก-

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] ว. หนึ่ง (จำนวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้น หรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สำคัญ เช่น ตัวเอก; เรียกระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสำหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ