ค้นเจอ 13 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา อัม,อัม-

อำ

หมายถึงก. ปิดบัง, ปกปิด; (ปาก) พูดหลอกเพื่อให้ตกใจหรือขบขันเป็นต้น, พูดดักคอ.

อำพล

หมายถึง(โบ) ว. อำพน.

อัม,อัม-

หมายถึง[อำ, อำมะ-] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).

อำมาตยาธิปไตย

หมายถึง[อำหฺมาดตะยาทิปะไต, อำหฺมาดตะยาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ขุนนางหรือข้าราชการเป็นใหญ่. (อ. bureaucracy).

อำมาตย,อำมาตย-,อำมาตย์

หมายถึง[อำหฺมาดตะยะ-, อำหฺมาด] น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์. (ส. อมาตฺย; ป. อมจฺจ).

อัมพุช

หมายถึง[อำพุด] น. “เกิดในนํ้า” หมายถึง บัว; ปลา. (ป., ส.).

อัมพ,อัมพ-

หมายถึง[อำพะ-] น. ต้นมะม่วง, ใช้ว่า อัมพพฤกษ์ ก็มี. (ป.; ส. อามฺร).

อำพน

หมายถึง[-พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).

อัมพาต

หมายถึง[อำมะพาด] น. อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไปกระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

บังคับครุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.

บัง

หมายถึงคำพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอำ เช่น บำเพ็ญ.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ