ค้นเจอ 41 รายการ

อากร

หมายถึง[-กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว หมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.

สุงกากร

หมายถึงน. ศุลกากร, ค่าอากรที่เรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและขาออก. (ป.; ส. ศุลฺก + อากร).

พยุหเสนา

หมายถึงน. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).

คุณากร

หมายถึง[คุนากอน] น. บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี. (ป. คุณ + อากร).

แสนยากร

หมายถึง[-กอน] น. หมู่ทหาร, กองทัพ. (ส. ไสนฺย + อากร).

พยุหแสนยา

หมายถึงน. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

พยุหแสนยากร

หมายถึงน. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).

รัษฎากร

หมายถึง[รัดสะ-] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความว่า อากรของประเทศ).

พลากร

หมายถึง[พะลากอน] น. กองทหารเป็นจำนวนมาก. (ป. พล + อากร).

ศาลภาษีอากร

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.

นายอากร

หมายถึงน. ผู้รับผูกขาดภาษีอากร.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ