ตัวกรองผลการค้นหา
ปิฎก
หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).
ไตรปิฎก
หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.
วินัยปิฎก
หมายถึง[วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
สุตตันตปิฎก,สุตตันตะ
หมายถึง[สุดตันตะปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก. (ป.).
วิภังค์
หมายถึงน. การจำแนก, การแบ่ง; ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก. (ป., ส.).
ไตรย
หมายถึง[ไตฺร] (โบ) ว. ไตร เช่น ไตรยตรึงษ์ ไตรยปิฎก ไตรยโลก. (ยวนพ่าย).
อภิธรรม
หมายถึง[อะพิทำ] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).
จุลวรรค
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ในพระวินัยปิฎก; ชื่อมาตราปักษคณนา คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ เป็นจุลวรรค.
มหาวรรค
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์หนึ่ง; วิธีนับปักษ์อย่างหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ รวมเป็น ๕ ปักษ์ เรียกว่า มหาวรรค.
บรมัตถ์
หมายถึง[บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริงที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นำหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
ปรมัตถ์
หมายถึง[ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).
ไตร
หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาสอย่างเดียว (บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้จะพูดไว้ท้ายคำบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).