ตัวกรองผลการค้นหา
ทุร,ทุร-
หมายถึง[ทุระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลำบาก. (ส.).
การใช้ ร หัน(รร)
อักษรย่อโรงเรียน
คำไวพจน์: นกยูง - คำไวพจน์ของ นกยูง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำไวพจน์ ดอกบัว | คำคล้าย ดอกบัว
ทุ
หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
ทุรศีลธรรม
หมายถึงน. การกระทำผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน. (อ. immoral).
หมายถึง(แบบ) ว. สอง, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
หมายถึงดู กระทุ.
มธุร,มธุร-,มธุระ
หมายถึง[มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน, ไพเราะ. (ป., ส.).
ทร,ทร-
หมายถึง[ทอระ-] คำอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
ทุส,ทุส-,ทุสสะ
หมายถึง[ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
ทุกร,ทุกร-
หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).
ร
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
วิทูร
หมายถึงว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชำนาญ. (ป., ส. วิทุร).
ดื้อรั้น
หมายถึงว. ดื้อดันทุรัง.