ค้นเจอ 27 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทุ, โทสจริต, จริต, สุจริต, กรัชกาย, สุจิต

โดยทุจริต

หมายถึง(กฎ) ว. เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ทุจริต

หมายถึง[ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

วจีทุจริต

หมายถึง[วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.

มโนทุจริต

หมายถึง[มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.

กายทุจริต

หมายถึง[กายยะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.

คดโกง

หมายถึงก. ประพฤติทุจริต, ไม่ซื่อตรง.

เงินร้อน

หมายถึงน. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว.

มิจฉาวาจา

หมายถึงน. “การเจรจาถ้อยคำผิด” คือ ประพฤติวจีทุจริต. (ป.).

กังฉิน

หมายถึงว. คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (จ. กังฉิน ว่า อำมาตย์ทุจริต, อำมาตย์ทรยศ).

มิจฉากัมมันตะ

หมายถึงน. “การงานอันผิด” คือ ประพฤติกายทุจริต. (ป.).

อกุศลกรรมบถ

หมายถึง[อะกุสนละกำมะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทางบาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ