ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทิพ,ทิพ-, สันทิส, ทิคัมพร, สิทธัตถะ, ทิศ,ทิศา, ปิด, ทอด, ทาส,ทาส-, ทิน
ทิด
หมายถึงน. คำนำหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
คำไวพจน์ ผู้ชาย - คำคล้าย ผู้ชาย
อาทิตย,อาทิตย-,อาทิตย์
หมายถึง[-ทิดตะยะ-, -ทิด] น. “เชื้ออทิติ” คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนางอทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจำนวนกล่าวไว้ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตำรานพเคราะห์นับเอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
สันทิส
หมายถึง[-ทิด] ก. สนทิศ. (ส. สํ + ทิศ).
บุรพทิศ
หมายถึง[บุระพะทิด, บุบพะทิด] น. ทิศตะวันออก.
สาทิส,สาทิส-
หมายถึง[สาทิด, สาทิดสะ-] ว. เหมือนกัน, คล้ายกัน, เช่นกัน. (ป. สาทิสฺส; ส. สาทฺฤศฺย).
ทิฏฐะ,ทิฐ,ทิฐ-
หมายถึง[ทิดถะ-] (แบบ) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ; ส. ทฺฤษฺฏ).
บุริมทิศ
หมายถึง[บุริมมะทิด] น. ทิศตะวันออก. (ป. ปุริมทิส).
ธรรมาธิษฐาน
หมายถึง[ทำมาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺาน).
บุคลาธิษฐาน
หมายถึง[บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
แตรวงโยธวาทิต
หมายถึง[-โยทะวาทิด] น. วงดนตรีทหารหรือตำรวจเป็นต้นซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลือง จำพวกแตร เครื่องตี เช่น กลองใหญ่เล็ก และเครื่องลมต่าง ๆ มักจัดเป็นวงใหญ่ ใช้ในเวลากองทหารเดินและอื่น ๆ.