ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ต้อย, ลัมพ์, กระจ้อยร่อย, จ้อย, หย่อน, น้ำตาล, ปั่นแปะ, สร้อย, ย้อย, ร้อย, ร้อยกรอง
ถ้อย
หมายถึงน. คำพูด, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
คำไวพจน์ คำพูด | คำคล้าย คำพูด
ใส่ถ้อยร้อยความ
หมายถึง(สำ) ก. ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง.
ฉาดฉาน
หมายถึงว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉะฉาน ก็ใช้.
ถ้อยความ
หมายถึงน. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้ในสำนวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.
ฉะฉาน
หมายถึงว. อาการที่พูดห้าวหาญและชัดถ้อยชัดคำ, ฉาดฉาน ก็ใช้.
ชื่นมื่น
หมายถึงก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น. (สังข์ทอง).
ก้าน
หมายถึงน. ก่าน, กล้า, เช่น รู้ไป่ทันแก่ก้าน กล่าวถ้อยกลางสนาม. (โลกนิติ).
โกฐาส
หมายถึง[โกดถาด] (แบบ) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็นโกฐาสถ้อย. (ม. คำหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺาส).
ถ่อง
หมายถึง(โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
ศรศิลป์ไม่กินกัน
หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
เน้น
หมายถึงก. ทำให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสำคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้นถ้อยเน้นคำ, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก เน้นฟัน. ว. ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น พูดเน้น.