ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ฌาน, การย์, ฆาน, อุทบาน, บาน,บาน,บาน-, ฉาน, ยกเก็จ, พื้น, กระหมวด
ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ
หมายถึง[ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
ยกเก็จ
หมายถึงก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ.
กระหมวด
หมายถึงน. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.
ดรรชนี
หมายถึง[ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number).
ย่อมุม
หมายถึงก. ทำให้มุมของผังพื้นหรือวัตถุ เช่น แท่น ฐาน เสา ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.
ฐาน
หมายถึง(คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).
พื้น
หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
หมายถึง[ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).
หมายถึงสัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.
ย่อเก็จ
หมายถึงก. ทำเก็จให้ลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ยกเก็จ.
เก็จ
หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกมาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน.
คุยหฐาน
หมายถึง(ราชา) น. อวัยวะที่ลับ ใช้ว่า พระคุยหฐาน. (ป. คุยฺห + ฐาน; ป. คุยฺห + ส. ปฺรเทศ).