ค้นเจอ 9 รายการ

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอน หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง.

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดน้ำมัน.

นาภี

หมายถึงน. ชะมด เช่น มฤคนาภี ว่า ตัวชะมด. (ป., ส.).

ชระมด

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) น. ชะมด.

เห็นอ้ม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชะมด. (ดู ชะมด ๑).

ชมดชม้อย

หมายถึง[ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย.

ชะมดต้น

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Abelmoschus moschatus Medic. subsp. moschatus ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสีนํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทำยาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก.

อีเห็น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับชะมดและพังพอน ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบทประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ