ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ชวร,ชวระ
ชร,ชร-,ชร-
หมายถึง[ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.
ชร
หมายถึง[ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
หมายถึง[ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คำฤษดี), ชรธารา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ชวร,ชวระ
หมายถึง[ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
ชรงำ
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ).
ชำเนียน
หมายถึงก. เจียน, สลัก, เช่น ชำเนียนชรเนียรเอมอร. (สมุทรโฆษ). ว. ฉลุเฉลา, เกลี้ยงเกลา.
ชรอัด
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช).
ตากตน
หมายถึงก. นอนแผ่, นอนหงาย, เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
ชระเดียด
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
ชรอื้อ
หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ราชรถ
หมายถึง[ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ.