ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา จยุติ, ตยุติ, มุติ, วิภัตติ, ศิษย์ก้นกุฏิ, ยุติ, กุฏิ, ลงเอย, จบเห่, สดุดี
จุติ
หมายถึง[จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
ตยุติ
หมายถึง[ตะยุติ] (แบบ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติลงเกอด. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
จยุติ
หมายถึง[จะยุดติ] (กลอน) ก. จุติ. (ส.).
ทิพยจักษุญาณ
หมายถึงน. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).
ภวังค,ภวังค-,ภวังค์
หมายถึง[พะวังคะ-] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.
จุตูปปาตญาณ
หมายถึง[-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺาน).
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).