ค้นเจอ 1,905 รายการ

กุมารลฬิตา

หมายถึง[กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).

กุสุมวิจิตร

หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).

ร่ายดั้น

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.

สุรางคนางค์

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

ร่ายสุภาพ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.

กุสุมิตลดาเวลลิตา

หมายถึง[กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๖ คณะ คือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

ฉบัง

หมายถึง[ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คำ แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).

ศัพท,ศัพท-,ศัพท์

หมายถึง[สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).

จตุรงคนายก

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).

สุรางคนา

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

ร่ายยาว

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้ สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ