ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กระ, ละบือ, กระบวน, กบิล, กบูร, กระบาล, ตบยุง, กระบ่า,กระบ้า, กะ-, กะ, คู่โค
กระบือ
หมายถึงน. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. (ข. กรฺบี; มลายู เกรฺเบา).
คำไวพจน์: ควาย - คำไวพจน์ของ ควาย พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำไวพจน์: วัว - คำไวพจน์ของ วัว พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำราชาศัพท์ หมวดสัตว์และเบ็ดเตล็ด
จ่อม
หมายถึงก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
กระแหล่ง
หมายถึง[-แหฺล่ง] น. วัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน ทำด้วยเหล็ก ใช้แขวนคอม้า โค กระบือ.
กระ
หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
คู่โค
หมายถึง(โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [“ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” -พงศ. ร. ๒].
ระคาง
หมายถึงน. เม็ดผดที่เกิดขึ้นตามขาด้วยระคายต้นหญ้าหรือขนกระบือ, ตะคาง ก็ว่า.
ตะคาง
หมายถึงน. เม็ดผดที่เกิดขึ้นตามขาด้วยระคายต้นหญ้าหรือขนกระบือ, ระคาง ก็ว่า.
คำพ้องความ
หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า
พาหนะ
หมายถึง[-หะนะ] น. เครื่องนำไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สำหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).