สํานวนสุภาษิต

หยิกเล็บเจ็บเนื้อ

หมายถึง เมื่อทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิด ก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้ทำหรือพวกพ้อง

หมายถึง ทำผู้ใกล้ชิดก็ย่อมส่งผลกระทบถึงตัวผู้ทำ หรือพรรคพวกด้วย

พจนานุกรมไทย หยิกเล็บเจ็บเนื้อ หมายถึง:

  1. (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้องกันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ


 สํานวนสุภาษิตที่คล้ายกัน

กลับเนื้อกลับตัว ก่อร่างสร้างตัว คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ฆ่าควายเสียดายพริก ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา ถอดเขี้ยวถอดเล็บ ลางเนื้อชอบลางยา หน้าเนื้อใจเสือ หอกข้างแคร่ อย่าฝากเนื้อไว้กับเสือ เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ
 แสดงความคิดเห็น
 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ