สุภาษิตไทย หมวด อ พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด อ พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำสุภาษิต

คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี

คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
  2. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ

สำนวนไทย

สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย

คำพังเพย

คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

รวมสุภาษิตไทย หมวด อ พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด อ พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมายถึง ให้มีความอดทน อดใจรอผลข้างหน้าที่จะดีกว่า คือละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี เพราะอดใจรอเอาสิ่งที่ดีกว่า
  2. อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น หมายถึง เมื่ออยู่บ้านใคร อย่าอยู่เปล่า ควรทำการทำงานช่วยเหลือเขาเท่าที่จะทำได้ แม้เพียงเอาดินเหนียวมาปั้นวัวปั้นควายให้ลูกเจ้าของบ้านเล่นก็ยังดี เขาจะได้เมตตาสงสาร
  3. อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง อย่าบังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามใจตน
  4. อย่าคบคนจร นอนหมอนหมิ่น หมายถึง อย่าคบคนจร ที่เราไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าหรือไม่รู้จักประวัติเสียก่อน
  5. อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง บางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว
  6. อย่าชิงสุกก่อนห่าม หมายถึง ตามปรกติผลไม้ เช่นมะม่วงก่อนจะสุก จะต้องห่ามเสียก่อน การกระทำอะไรต้องให้เป็นไปตามจังหวะขั้นตอนของมัน ถ้าทำผิดลำดับอาจเสียหาย เหมือนผลไม้ที่ยังไม่แก่ เอามาบ่มแม้จะสุก แต่ก็จะเข้าทำนองหัวหวานก้นเปรี้ยว หรือยังเรียนหนังสือไม่จบ ยังหาเงินไม่ได้ ริมีลูกมีเมียเสียก่อน ตัวเองก็จะเดือดร้อนลูกเมียก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย
  7. อย่าชี้โพรงให้กระรอก หมายถึง คืออย่าไปสอนผู้รู้ เพราะเขารู้อยู่แล้ว เหมือนกับกระรอกมันย่อมรู้จักโพรงของมัน ไม่ต้องไปชี้บอกกับมันดอก
  8. อย่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง อย่าทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์โดยไม่ได้ประโยชน์คุ้มกับเงินทองที่ต้องเสียไป เหมือนตำน้ำพริกเพียงครกหนึ่งแล้วเอาไปละลายในแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำมาก จะทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำพริกอย่างในหม้อแกงไม่ได้
  9. อย่าติเรือทั้งโกลน หมายถึง เรือสมัยโบราณซึ่งเอาซุงทั้งต้นมาขุด เช่น เรือมาดที่เขาทำเป็นรูปร่างแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ อย่างเพิ่งไปด่วนติ
  10. อย่าทำตัวเป็นกิ้งก่าได้ทอง หมายถึง อย่าเย่อหยิ่งจองหองเพราะเพียงได้ดีหรือมีทรัพย์ขึ้นมาเพียงเล็กน้อย
  11. อย่าทำเป็นหมาเห่าใบตองแห้ง หมายถึง อย่าทำพูดอวดเก่ง หรือเก่งแต่ปาก
  12. อย่าฝากเนื้อไว้กับเสือ หมายถึง อย่าฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้นเพราะตนจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป
  13. อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ หมายถึง อย่ารื้อเอาเรื่องเก่าๆ ที่ล่วงเลยไปแล้วขึ้นมาพูดให้สะเทือนใจกัน ฝอย ในที่นี้หมายถึง มูลฝอย กุมฝอย ตะเข็บ คล้ายตะขาบ แต่ตัวเล็กกว่ามาก ชอบอยู่ตามกุมฝอย
  14. อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก หมายถึง อย่าเป็นคนดีแต่พูด คือพูดได้ แต่ทำไม่ได้
  15. อย่าสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ หมายถึง คืออย่าไปสอนผู้รู้ เพราะเขารู้อยู่แล้ว
  16. อย่าสอนหนังสือสังฆราช หมายถึง คืออย่าไปสอนผู้รู้ เพราะเขารู้อยู่แล้ว
  17. อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า หมายถึง อย่าใช้อำนาจบังคับอย่างหักโหมรุนแรง เพื่อให้ผู้อื่นทำตามความประสงค์ของตน เพราะนอกจากจะไม่สำเร็จแล้ว ตัวเองก็อาจเดือดร้อน
  18. อย่าเลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ หมายถึง อย่าเอาลูกโจรหรือลูกคนชั่วคนเลวมาเลี้ยง เพราะอาจสร้างความลำบากเดือดร้อนให้แก่ผู้เลี้ยงก็ได้
  19. อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้ หมายถึง อย่าเห็นผู้อื่นดีกว่าญาติพี่น้องลูกหลานของตน
  20. อย่าเอาจมูกคนอื่นหายใจ หมายถึง ต้องรู้จักช่วยตัวเอง อย่าคิดแต่จะพึงพาอาศัยคนอื่นเสมอไป ถ้าเราทำอะไรได้เองก็สะดวก แต่ถ้าต้องคอยอาศัยคนอื่นเขาร่ำไป ย่อมไม่ได้รับความสะดวก เหมือนคนมีรถยนต์แล้วขับไม่เป็น จะไปไหนทีก็ต้องพึ่งคนขับอยู่เรื่อย ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ไปไม่ได้
  21. อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง หมายถึง คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่เสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน
  22. อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ หมายถึง พิมเสนเป็นของมีค่ามากกว่าเกลือ คืออย่าลดตัวลงไปสู้กับคนชั่วต่ำ มีแต่จะเสียศักดิ์ศรี เพราะไม่คู่ควรกัน
  23. อย่าเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน หมายถึง จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เขาจะหัวเราะเยาะได้ เพราะในสวนเขาก็มีมะพร้าวอยู่แล้ว หมายความว่า อย่าเอาสิ่งของหรืออะไรก็ตามแสดงต่อผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในสิ่งนั้นเป็นที่ลือชาปรากฏอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าตนเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญา หรือเซ่อเซอะอะไรทำนองนั้น
  24. อย่าเอาลูกเขามาเลี้ยง อย่าเอาเมี่ยงเขามาอม หมายถึง อย่าเอาของคนอื่นมาชื่นชมยินดี
  25. อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง อย่าหาเรื่องใส่ตัว การพูดหรือทำอะไรก้าวก่ายไปถึงผู้อื่นโดยมิบังควร ย่อมทำให้ตนได้รับความเดือดร้อนโดยไม่จำเป็น
  26. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง หมายถึง อย่าวางใจหรือไว้วางใจใครคนอื่นง่ายเกินไป จะเป็นเราที่เดือดร้อนในภายหลังได้
  27. อายครูไม่รู้วิชา อายภรรยาไม่มีบุตร หมายถึง อายในสิ่งที่ไม่ควรอาย อันทำให้ไม่เกิดประโยชน์
  28. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน หมายถึง อวดรู้กับคนที่รู้เรื่องดีกว่า
  29. เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่
  30. เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ
  31. เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง หมายถึง เอาทรัพย์หรือสิ่งของจากคนที่มีน้อยไปให้ผู้ที่มีมากกว่า
  32. เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึง คัดค้านผู้มีอำนาจ ฐานะสูงกว่า หรือผู้ใหญ่กว่า มักจะล้มเหลว

 แสดงความคิดเห็น