สุภาษิตไทย หมวด ป พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ป พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำสุภาษิต

คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี

คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
  2. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ

สำนวนไทย

สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย

คำพังเพย

คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

รวมสุภาษิตไทย หมวด ป พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ป พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พาตัวอื่นพลอยเหม็นไปด้วย หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกัน ถ้าคนหนึ่งไปทำชั่ว ทำไม่ดีไว้ ก็จะพลอยทำให้คนอื่นเสียหายไปด้วย
  2. ปลาติดร่างแห หมายถึง คนที่พลอยรับเคราะห์กรรมกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน
  3. ปลาติดหลังแห หมายถึง คนที่พลอยรับเคราะห์กรรมกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน
  4. ปลาหมอตายเพราะปาก หมายถึง คนที่พูดจาไม่ระวังจนนำอันตรายหรือความลำบากมาสู่ตนเอง
  5. ปลาหมอตายเพราะปาก หมายถึง คนที่ชอบพูดอะไรพล่อยๆ มักจะได้รับอันตรายเพราะปากที่พูดพล่อยๆ นั้น
  6. ปลูกเรือนต้องตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ต้องตามใจผู้นอน หมายถึง จะทำอะไรก็ต้องตามใจผู้ที่จะได้รับผล เหมือนปลูกเรือนต้องปลูกตามที่ผู้อยู่ต้องการ ไม่ใช่ตามที่ช่างต้องการ เพราะช่างหรือสถาปนิกไม่ใช้ผู้อาศัย ผูกอู่ก็คือผูกเปล ก็ต้องให้ถูกใจผู้นอน
  7. ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูสำคัญหรือโจรผู้ร้าย ที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไปนั้น จะทำให้เขากลับมีกำลังและอาจกลับเข้ามาก่อความเดือดร้อนได้อีก
  8. ปากกัดตีนถีบ หมายถึง มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่ห่วงคำนึงถึงความลำบาก; ตีนถีบปากกัด ก็ว่า
  9. ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง ตามปรกติปากของอีกายาวกว่าปากคน แต่ปากคนนั้นพูดเล่าลือต่อปากกันไปได้ไกล ผิดกับกาแม้ปากจะยาว แต่ก็ต่อปากต่อคำอย่างคนไม่ได้
  10. ปากปราศัย ใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย
  11. ปากว่าตาขยิบ หมายถึง พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน
  12. ปากหวานก้นเปรี้ยว หมายถึง พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่จริงใจ
  13. ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา หมายถึง สมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว
  14. ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำดีโดยไม่ต้องเป่าประกาศ หรืออาจจะใช้ในประโยคทำนองพ้อว่าทำดีแล้วไม่มีใครรู้
  15. ไปไหนมาสามวาสองศอก หมายถึง ถามอย่างหนึ่ง แต่ตอบอีกอย่างหนึ่ง

 แสดงความคิดเห็น