สุภาษิตไทย หมวด บ พร้อมความหมาย
คำสุภาษิต
คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี
คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ
สำนวนไทย
สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย
คำพังเพย
คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้
รวมสุภาษิตไทย หมวด บ พร้อมความหมาย
สุภาษิตไทย หมวด บ พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- บนข้าวผี ตีข้าวพระ หมายถึง ขอร้องให้เทวดาผีสางนางไม้ช่วยโดยการบน
- บอกหนังสือสังฆราช หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
- บุญมา ปัญญาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก หมายถึง ในเวลาที่มีบุญวาสนา สติปัญญาก็ปลอดโปร่ง กำลังใจดี แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะหายวันหายคืน เพราะเขาหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากผู้มีวาสนานั้น และจะมีภาษิตต่อท้ายอีกว่า “บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย” ซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน
- เบี้ยบ้ายรายทาง หมายถึง เงินที่ต้องใช้จ่าย หรือเสี่ยไปเรื่อย ๆ ในขณะทำธุรกิจให้สำเร็จ