สุภาษิตไทย หมวด ช พร้อมความหมาย
คำสุภาษิต
คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี
คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
- คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ
สำนวนไทย
สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย
คำพังเพย
คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้
รวมสุภาษิตไทย หมวด ช พร้อมความหมาย
สุภาษิตไทย หมวด ช พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายถึง มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
- ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง โนมน้าวใจ เพื่อให้เชื่อถือตน
- ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือขวางให้การสนทนาออกนอกเรื่อง
- ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ หมายถึง ใครจะเป็นอะไรก็ช่าง ไม่ควรถือเอาเป็นธุระ
- ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน หมายถึง ชีวิตคนเราเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ เดี๋ยวรุ่งเรือง เดี๋ยวตกอับ ดังนั้นเมื่อถึงคราวตกอับ ก็อย่าเพิ่งท้อถอย หรือหมดอาลัยในชีวิต และเมื่อถึงคราวรุ่งเรือง มีอำนาจวาสนา ก็อย่าลืมตัว อย่าประมาท
- ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ หมายถึง ลูกผู้ชายที่ชื่อว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถ จะต้องสำแดงวิชาความรู้และความสามารถให้ลือชาปรากฏแก่คนทั่วไป ดุจเสือ (ลายพาดกลอน) ก็ต้องมีลายฉะนั้น
- ชี้นกบนปลายไม้ หมายถึง หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว มันเป็นไปได้ยาก
- ชุบมือเปิบ หมายถึง ฉวยเอาผลประโยชน์ของผู้อื่น โดยตัวเองไมได้ลงทุนลงแรง
- ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม หมายถึง ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ พิจารณาให้ดี รอบคอบ เดี๋ยวจะสัมฤทธิ์ผลเอง
- ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง หมายถึง จะทำอะไรก็ทำอย่างมีสติ รอบคอบ แม้จะช้าไปบ้างก็ได้ผลดี แต่ถ้าทำอย่างรีบร้อน ไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีก่อน อาจผิดพลาดเสียหายได้ง่าย
- ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด หมายถึง ความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด
- ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด หมายถึง ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ ใบบัวมีขนาดเล็ก ถ้าเอาใบบัวใบเดียวไปปิดช้าง ย่อมปิดไม่มิด คนที่ทำความชั่วไว้มากมาย ถึงจะปิดอย่างไรๆ ก็ปิดไม่หมด คนย่อมรู้เข้าจนได้
- ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก อย่าได้ไว้วางใจ หมายถึง ช้างสารและงูเห่า เป็นสัตว์เดรัจฉานไว้ใจไม่ได้ ข้าเก่าและเมียรัก เป็นบุคคลที่ใกล้ชิด ย่อมรู้เรื่องราวและความลับของเราหมด บุคคลประเภทนี้ ถ้ากลับกลายเป็นศัตรูแล้วจะเป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจจนเกินไป
- ใช้แมวไปขอปลาย่าง หมายถึง แมวก็กินปลาย่างหมด เพราะตามปรกติแมวก็ชอบกินปลา