200 พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน

พุทธสุภาษิต รวม 200 พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย มาทำการเรียนรู้กัน จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลย

รวม 200 พุทธสุภาษิตที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

  1. การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
  2. การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
  3. การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูตลอดเวลา
  4. การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ
  5. การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
  6. การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
  7. กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
  8. ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
  9. ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
  10. คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
  11. คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
  12. คนควรให้ของที่ควรให้
  13. คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
  14. คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
  15. คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
  16. คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
  17. คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
  18. คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
  19. คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
  20. คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
  21. คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
  22. คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
  23. คนมักทำบาปเพราะความหลง
  24. คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  25. คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาให้ท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ
  26. คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น
  27. คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
    คำบาลี ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺเจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
  28. คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
  29. คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข
  30. คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
  31. คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
  32. คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
  33. คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็หอมไปด้วยฉันนั้น
  34. คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็เป็นคนพาลฉันนั้น
  35. คนอกตัญญูค่อยจับผิดอยู่เป็นนิตย์ ขะทำให้เขาพอใจไม่ได้ ถึงจะให้แผ่นดินทั้งหมดแก่เขา ผู้มีปกติมองหาโทษอยู่เสมอ ก็จะทำให้เขาพอใจไม่ได้
    คำบาลี อกตัญญุสสะ โปสัสสะ นิจจัง วิวะระทัสสิโน สัพพัญเจ ปะฐะวิง ทัชชา เนวะ นัง อะภิราธะเยฯ
  36. คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข
  37. คนเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก
  38. คนแข็งกระด้างก็มีเวร
  39. คนโกรธย่อมฆ่าได้แม้มารดาของตน
  40. คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
  41. คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ
  42. คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้
  43. คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
  44. คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
  45. คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น
  46. คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
  47. คบคนเช่นใดเป็นมิตร เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
  48. ควรคบมิตรที่ดี
  49. ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
  50. ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
  51. ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง 2 เพราะกลัวต่ออนาคต
  52. ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
  53. ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
  54. ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
  55. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
  56. ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
  57. ความดี อันคนชั่วทำยาก
  58. ความดี อันคนดีทำง่าย
  59. ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ
  60. ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมนำสุขมาให้
  61. ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
  62. ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
  63. ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี
  64. ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
  65. ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
  66. ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี
  67. ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
  68. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
  69. ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
  70. ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร
  71. ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
  72. ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้
  73. ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
  74. ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
  75. ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย
  76. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
  77. ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
  78. คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
  79. จงมีความพยายามในหน้าที่ของตน
  80. จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
  81. จงเตือนตน ด้วยตนเอง
  82. จงเตือนตนด้วย ตนเอง
  83. จิตจอดอยู่กับใคร ถึงไกลกัน ก็เหมือนอยู่ชิดใกล้ ใจหมางเมินใคร ถึงใกล้กัน ก็เหมือนอยู่แสนไกล
  84. ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
  85. ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
  86. ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำฉันนั้น
  87. ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
  88. ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
  89. ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
  90. ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
  91. ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
  92. ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
  93. ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
  94. ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
  95. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  96. ทำไม่ได้ อย่าพูด
  97. ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
  98. ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
  99. ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
  100. ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
  101. ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน
  102. บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
  103. บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดีเป็นความเจริญ
  104. บัณฑิตย่อมฝึกตน
  105. บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
  106. บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
  107. บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด คนมักโกรธ คนตระหนี่ และคนเพลิดเพลินในสมบัติ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความเลวทราม
  108. บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบแต่สัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมนำไปสู่สุคติ
  109. บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
  110. บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ
  111. บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
  112. บุคคลทำสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใดไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด
  113. บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
  114. บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
  115. ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
  116. ปราชญ์ พึงรักษาศีล
    คำบาลี สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี
  117. ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
  118. ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
  119. ปัญญา เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน
  120. ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
  121. ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
  122. ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการงาน เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
  123. ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
  124. ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
  125. ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
  126. ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
  127. ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
  128. ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ
  129. ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
  130. ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
  131. ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
  132. ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
  133. ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
  134. ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
  135. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
  136. ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า
  137. ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
  138. ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ
    คำบาลี อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส
  139. ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
  140. ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
  141. ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
  142. ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
  143. ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว
  144. ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
  145. ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
  146. ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
  147. ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
  148. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
  149. ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
  150. ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด
  151. ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
  152. ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
  153. ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
  154. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
  155. พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
  156. พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
  157. พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
  158. พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
  159. พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
  160. พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
  161. พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
  162. พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
  163. พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
  164. พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
  165. พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)
  166. พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
  167. ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
  168. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน
  169. มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมารยาทเลวและที่เที่ยวเลว
  170. มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
  171. วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
  172. ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
  173. ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
  174. สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
  175. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
  176. สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า
  177. สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
  178. สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
  179. ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด, ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
  180. อยู่ร่วมกับคนชั่ว ย่อมมีแต่ความทุกข์
  181. อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
  182. อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
  183. อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
  184. อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
  185. เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
  186. เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
  187. เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
  188. เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
  189. เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
  190. เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
  191. เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น
  192. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
  193. เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
  194. โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก
  195. โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
  196. โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น
  197. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
  198. ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแม้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม
  199. ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน
  200. ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก

คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับพุทธสุภาษิตทั้ง 200 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน

หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย


รายการพุทธสุภาษิตยอดนิยมอื่น ๆ

 แสดงความคิดเห็น