พุทธสุภาษิต หมวด ม
รวมพุทธสุภาษิต หมวด ม
พุทธสุภาษิต หมวด ม ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
- มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
- มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ
- มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย
- มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
- มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดึใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่
- มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบช่องทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบของท่าน
- มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร
- มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
- มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นบูรพาจารย์ (ครูคนแรกของบุตร)
- มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม
- มารดาบิดา เป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร
- มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
- มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
- มารดาเป็นมิตรในเรือนตน
- มิตร เมื่อระลึกถึงธรรมแล้ว ไม่ยอมทอดทิ้งมิตร ในยามมีทุกข์ภัยถึงชีวิต ข้อนี้เป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้
- มิตรชั่วไม่ควรคบ
- มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช้การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น
- มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด
- มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
- มีญาติพวกพ้องมาก ย่อมเป็นการดี เช่นเดียวกับต้นไม้ในป่าที่มีจำนวนมาก ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะงอกงามใหญ่โตสักเท่าใด ลมก็พัดให้โค่นลงได้
- มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
- มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย
- มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมารยาทเลวและที่เที่ยวเลว
- มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
- มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก
- เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
- เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
- เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
- เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
- เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
- เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
- เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
- เมื่อคบคนดีกว่าตน ตนเองก็ดีขึ้นมาทันที
- เมื่อคบคนที่ดีกว่า ตัวเองก็ดีขึ้นมาฉับพลัน
- เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย
- เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
- เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
- เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย เหมือนคนมีจักษุ เว้นเดินทางอันไม่สะดวกเรียบร้อย
- เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
- เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี
- เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ
- เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
- เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ
- เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
- เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
- เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
- เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี
- เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว จังไม่ต้องเดือนร้อนใจในภายหลัง
- เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
- เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
- เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
- เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมด
- เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำโคฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอ
- เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
- เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ
- เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก, ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
- เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
- เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
- เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม
- เมื่อมีความมัวเมา ก็เกิดความประมาท
- เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง
- เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
- เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
- เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
- เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
- เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด
- เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้
- เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม
- เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
- เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
- เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
- เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้
- เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
- เมื่อเกิดเรื่องราวขึ้น สหายช่วยให้เกิดสุข
- เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
- เมื่อเขาไม่มีเยื่อใย ป่วยการอยู่กินด้วย
- เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน
- เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์
- เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่นในธรรม 2 อย่าง เมื่อนั้นกิเลศเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
- เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น
- เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น
- เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรต สุข และกำลังอันเลิศ ก็เจริญ
- เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่มีใครติเตียน ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย
- แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
- แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี
- แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
- แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
- แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น
- แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
- ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
- ไม่ควรคบคนเลวทราม นอกจากเพื่อให้ความช่วยเหลือ
- ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
- ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด, ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น
- ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
- ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
- ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน
- ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
- ไม่ควรพร่าประโยชน์แห่งตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้จะมีมาก
- ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆ เมื่อถึงเวลา