พุทธสุภาษิต หมวด พ
รวมพุทธสุภาษิต หมวด พ
พุทธสุภาษิต หมวด พ ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
- พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
- พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
- พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
- พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
- พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
- พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
- พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
- พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
- พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
- พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
- พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
- พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์
- พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
- พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา
- พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
- พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข
- พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
- พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ
- พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
- พึงข่มคนที่ควรข่ม
- พึงชนะคนตระหนึ่ด้วยการให้
- พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
- พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
- พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
- พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
- พึงชนะความโกธรด้วยความไม่โกรธ
- พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
- พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
- พึงตามรักษาความสัตย์
- พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
- พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
- พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น
- พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง
- พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
- พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
- พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
- พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
- พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
- พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
- พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
- พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
- พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
- พึงมองเห็นคนมีปัญญาที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละ เมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดี ไม่มีเสียเลย
- พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
- พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง
- พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
- พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
- พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
- พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง
- พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
- พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
- พึงศึกษาความสงบนั้นแล
- พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
- พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
- พึงสมาคมกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ ผู้นั้นรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
- พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
- พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)
- พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
- พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง
- พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
- พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
- พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
- พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
- พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
- พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
- พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะเป็นผู้สอบถาม เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้มีศีล และเป็นพหุสูตโดยเคารพ
- พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้
- พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
- พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ
- พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
- พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด
- พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
- พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
- พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
- พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
- เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
- เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
- เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
- เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
- เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
- เพียงเห็นกันชั่วครู่ชั่วยาม ไม่พึงไว้วางใจ