พุทธสุภาษิต หมวด ท
รวมพุทธสุภาษิต หมวด ท
พุทธสุภาษิต หมวด ท ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
- ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก
- ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
- ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน
- ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
- ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
- ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
- ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
- ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
- ทำงานไม่คั่งค้าง เป็นอุดมมงคล
- ทำชั่ว ได้ชั่ว
- ทำดี ได้ดี
- ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
- ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
- ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย
- ทำได้แล้วค่อยพูด
- ทำไม่ได้ อย่าพูด
- ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง
- ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง
- ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
- ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
- ทุกข์ เท่านั้นเกิด
- ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
- ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี
- ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
- ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
- ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
- ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
- ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก
- ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด
- ทุกท่านสามารถทำดีได้
- ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
- ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
- ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
- ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ
- ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลศ) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่าและสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด
- ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
- ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
- ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
- ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
- ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
- ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
- ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้
- ท่านผู้ครองแผ่นดิน ทั้งหลาย การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้
- ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
- ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
- ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
- ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
- ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ
- ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน
- ท่านเอ๋ย ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย
- โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก
- โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้
- โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน