พุทธสุภาษิต หมวด ค
รวมพุทธสุภาษิต หมวด ค
พุทธสุภาษิต หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
- คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
- คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
- คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
- คนขยัน ได้ความสงบใจ
- คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
- คนควรให้ของที่ควรให้
- คนคุ้นเคย ไว้ใจกันได้ เป็นญาติอย่างยิ่ง
- คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
- คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ
- คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
- คนจำพวกที่งามแต่ภายนอก ภายในไม่สะอาด มีบริวารกำบังตัวไว้ ก็ยังแสดงบทบาทอยู่ในโลก
- คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง
- คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน
- คนฉลาด พึงรู้จักกาลอันสมควร กำหนดเอาคนที่มีความคิด ที่ร่วมใจกันได้แล้ว จึงบอกทุกข์ร้อน โดยกล่าววาจาสละสลวย ได้ถ้อยได้ความ
- คนฉลาด ย่อมละบาป
- คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
- คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด
- คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข
- คนชั่ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
- คนชั่วฆ่าตัวเองก่อน ภายหลังจึงฆ่าคนอื่น
- คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง
- คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
- คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน
- คนดีจัดการโภคทรัพย์ ทำประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
- คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
- คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น
- คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
- คนทั้งหลาย อันถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
- คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
- คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
- คนที่ขยันในหน้าที่ ไม่ประมาท เอาใจใส่สอดส่อง ตรวจตรา จัดการงานให้เรียบร้อย เป็นอันดี จึงควรเข้ารับราชการ
- คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
- คนที่ทำดีแต่ภายนอก ภายในมักไม่บริสุทธิ์
- คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว
- คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
- คนที่พากเพียรไม่หยุด เทวดาก็กีดกันไม่ได้
- คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
- คนที่ร้องไห้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
- คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
- คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น
- คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้
- คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ
- คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
- คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี
- คนทุกคนต้องตาย
- คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
- คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
- คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
- คนประมาท เปรียบเสมือนคนตายแล้ว
- คนประมาท เสมือนคนตายแล้ว
- คนผลัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเกิดความเสื่อม
- คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
- คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
- คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
- คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
- คนพาล คบเป็นเพื่อนไม่ได้
- คนพาล ถึงอยู่ใกล้บัณฑิต จนตลอดชีวิต ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เสมือนทัพพี ที่ไม่รู้รสแกง
- คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้
- คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
- คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดในเรื่องนั้น
- คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
- คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
- คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี
- คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
- คนพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร
- คนมักทำบาปเพราะความหลง
- คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
- คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
- คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์
- คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม
- คนมิได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น มิได้เป็นมุนีเพราะคำของคนอื่น
- คนมีกิจธุระ ตั้งใจทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
- คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
- คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
- คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้
- คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้
- คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข
- คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
- คนมีปัญญา ถึงไร้ทรัพย์ ก็ยังดำรงอยู่ได้
- คนมีปัญญา ประกอบด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดงาน รู้จักกาล รู้จักสมัย จึงควรเข้ารับราชการ
- คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาให้ท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ
- คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ
- คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ
- คนมีปัญญา เมื่อถึงคราวตกทุกข์ ก็ยังหาสุขได้
- คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น
- คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น
- คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย
- คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ
- คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
- คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย
- คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ
- คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
คำบาลี ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺเจ หึสาย ปฏิปชฺชติ - คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
- คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่
- คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ที่มียศ
- คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน
- คนมีปัญญาอยู่ครองเรือน ก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
- คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน
- คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข