พุทธสุภาษิต หมวด ก
รวมพุทธสุภาษิต หมวด ก
พุทธสุภาษิต หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
- กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
- กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์
- กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง
- กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
- กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
- กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
- กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
- กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
- กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้
- กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย
- กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
- กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
- กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง 2 นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
- กามคุณ 5 ในโลก มีใจเป็นที่ 6 อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
- กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
- กามทั้งหลายที่ทำให้อิ่มได้ ไม่มีในโลก
- กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์
- กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
- กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
- กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล
- กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
- กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
- การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
- การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
- การงาน 1 วิชา 1 ธรรม 1 ศีล 1 ชีวิตอันอุดม 1 คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง 5 นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือด้วยทรัพย์ไม่
- การงานที่ทำโดยผลีผลาม ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือนร้อนภายหลัง
- การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
- การงานใด ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
- การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด
- การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
- การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุ ทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
- การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
- การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
- การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น
- การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย
- การฝึกจิต เป็นการดี
- การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
- การฝึกจิตเป็นความดี
- การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
- การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
- การระมัดระวังกาย เป็นความดี
- การระมัดระวังใจ เป็นความดี
- การร้องไห้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
- การร้องไห้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
- การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
- การสะสมบาป เป็นทุกข์
- การสะสมบุญ นำสุขมาให้
- การอยู่ร่วมกับคนชั่ว เป็นทุกข์
- การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูตลอดเวลา
- การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
- การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
- การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
- การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
- การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ
- การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
- การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
- การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้
- การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
- การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
- การให้ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน แต่ กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน
- การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
- การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
- การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก
- การได้ยศ การได้ลาภ การเลี้ยงชีพ ด้วยการยอมลดคุณค่าของชีวิต หรือด้วยการประพฤติอธรรม เป็นสิ่งน่ารังเกียจ
- การไม่คบคนชั่วเป็นมิตร เป็นมงคลอันอุดมยิ่ง
- การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
- การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1 การชำระจิตของตนให้ผ่องใส 1 สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
- การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
- การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
- การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
- การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
- การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
- กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
- กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
- กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
- กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
- กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
- กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
- กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตนนั้น
- กินคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข
- กินคนเดียว ไม่ได้ ความสุข
- กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
- ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
- เกิด ก็เป็นทุกข์
- เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
- เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
- เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
- เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
- แก่ ก็เป็นทุกข์
- โกรธแล้ว ย่อมมองไม่เห็นธรรม